วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มงคลสูตรคำฉันท์





 เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลยอ่านเพิ่มเติม




กาพย์ยานี 11









หนึ่งบทมีสองบาท บาทละ 11 คำ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 ทิ้งสัมผัสวรรคที่ 4 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายบาทแรกของบทต่อไป ดังตัวอย่าง


๏ อย่าด่วนครรไลแล่นกรกรีดแหวนบรางควร
ทอดตาลิลาจวนสะดุดบาทจักพลาดพลำ
๏ อย่าเดินทัดมาลาเสยเกศาบควรทำ
จีบพกพลางขานคำสะกิดเพื่อนสำรวลพลาง



วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ประวัติผู้แต่ง



 
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น


ความเป็นมาของ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
   
  บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑
     หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัตน์, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา, สาราจากใจ และมาลัยปกิณกะ
     ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษาเป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สรรพนาม, วิจารณ์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนาในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองที่จะนำมาศึกษาในบทเรียนนี้